หวานๆ

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวดแผนไทย

        การนวดแผนไทย



        การนวดแผนไทย หรือ นวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการยืดเส้น และการกดจุด ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ "นวดแผนโบราณ" โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย และมีการนำเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็นมาตรฐานของไทยและส่งทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ประเภทของการนวดแผนไทย

การนวดแผนไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สายราชสำนักและสายเชลยศักดิ์
  • การนวดแบบราชสำนัก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของการนวดนี้คือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ผู้มียศถา-บรรดาศักดิ์ที่อยู่ในรั้วในวัง ฉะนั้นการนวดจึงถูกออกแบบที่เน้นการใช้นิ้วมือและมือเท่านั้น และท่วงท่าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อย มีข้อกำหนดในการเรียนมากมาย ผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านนี้ จะได้ทำงานอยู่ในรั้วในวังเป็นหมอหลวง มีเงินเดือนมียศมีตำแหน่ง
  • การนวดแบบเชลยศักดิ์ เป็นการนวดที่ใช้ในระดับชาวบ้านด้วยท่าทางทั่วไป ไม่มีแบบแผนหรือพิธีรีตองในการนวดมากนัก อีกทั้งยังสามารถใช้อวัยวะอื่นๆ เช่น เข่า ศอก เท้า เพื่อช่วยทุ่นแรงในการนวดได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการนวดแบบราชสำนักที่เน้นการใช้มือเพียงอย่างเดียว

วิธีการนวดแผนไทย

การนวดแผนไทย ทำให้สุขภาพดี ผ่อนคลาย ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภท ได้แก่

1. การกด
เป็นการใช้น้ำหนักกดบนเส้นพลังงานบนกล้ามเนื้อโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วโป้งกดนวด เป็นวงกลม , ฝ่ามือกดเป็นวงกลม และกดเส้นพลังงานและ ใช้น้ำหนักตัวกด นิ้วและหัวแม่มือ หัวเข่า ฝ่าเท้า ทำการยืดเส้น ทำให้หลอดเลือดขยาย การไหลเวียนของเลือด ระบบประสาร การทำงานของอวัยวะต่างๆดีขึ้น 

2. การบีบ
เป็นการใช้น้ำหนัก บีบกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือเข้าหากันโดยการออกแรง สามารถ ใช้นิ้วหัวแม่มือช่วยหรือการประสานมือเพือเพ่ิมการออกแรง เป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

3. การทุบ/ตบ/สับ
ใช้มือและกำปั้นทุบกล้ามเนื้อเบาๆเป็นการผ่อนคลายการตึงของกล้ามเนื้อและให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้นและเป็นการช่วยขจัดของเสียออกจาก ร่างกาย

4. การคลึง
เป็นการใช้น้ำหนักกดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อโดยการหมุนแขนให้กล้ามเนื้้อเคลื่่อนหรือคลึงเป็นวงกลม ใช้แรงมากกว่าการใช้ข้อศอก

5. การถู
โดยใช้น้ำหนักนวดถูไปมา หรือวนไปมาเป็นวงกลม บนกล้ามเนื้อเพื่อช่วยผ่อนคลายยอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อต่างๆ
6. การหมุน
โดยการออกแรงหมุนข้อต่อกระดูกวนเป็นวงกลม ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น ผ่อนคลาย 

7. การกลิ้ง
เป็นการใช้ข้อศอกและแขนท่อนล่าง กดแรงๆในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่นต้นขา

8. การสั่น/เขย่า
ใช้มือเขย่าขาหรือแขนของผู้ถูกนวด เพื่อช่วยทำให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปในตัว 

9. การบิด
ลักษณะคล้ายการหมุน แต่เป็นการออกแรงบิดกล้ามเนื้อกับข้อต่อให้ ยืดขยายออกไปในแนวทแยง ทำให้กล้ามเนื้อยืด

10. การลั่นข้อต่อ
เป็นการออกแรงยืดข้อต่อให้เกิดเสียงดังลั่น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น

11. การยืดดัดตัว
โดยใช้ฝ่าเท้า เป็นการออกแรงยืดกล้ามเนื้อข้อต่อให้ยืดขยายออกไปทางยาว ช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยืดคลายตัว

12. การหยุดการไหลเวียนของเลือด
ใช้ฝ่ามือกดที่จุดชีพจรที่โคนขาเพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือดชั่วขณะกดไว้ประมาณครึ่่งถึง1นาทีแล้วค่อยๆปล่อยช้าเพื่อให้เลือด กลับหมุนเวียนดีขื้น


อ้างอิงจาก www.google.com   www.youtube.com   www.th.wikipedia.org