หวานๆ

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวดแผนไทย

        การนวดแผนไทย



        การนวดแผนไทย หรือ นวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการยืดเส้น และการกดจุด ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ "นวดแผนโบราณ" โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย และมีการนำเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็นมาตรฐานของไทยและส่งทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ประเภทของการนวดแผนไทย

การนวดแผนไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สายราชสำนักและสายเชลยศักดิ์
  • การนวดแบบราชสำนัก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของการนวดนี้คือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ผู้มียศถา-บรรดาศักดิ์ที่อยู่ในรั้วในวัง ฉะนั้นการนวดจึงถูกออกแบบที่เน้นการใช้นิ้วมือและมือเท่านั้น และท่วงท่าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อย มีข้อกำหนดในการเรียนมากมาย ผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านนี้ จะได้ทำงานอยู่ในรั้วในวังเป็นหมอหลวง มีเงินเดือนมียศมีตำแหน่ง
  • การนวดแบบเชลยศักดิ์ เป็นการนวดที่ใช้ในระดับชาวบ้านด้วยท่าทางทั่วไป ไม่มีแบบแผนหรือพิธีรีตองในการนวดมากนัก อีกทั้งยังสามารถใช้อวัยวะอื่นๆ เช่น เข่า ศอก เท้า เพื่อช่วยทุ่นแรงในการนวดได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการนวดแบบราชสำนักที่เน้นการใช้มือเพียงอย่างเดียว

วิธีการนวดแผนไทย

การนวดแผนไทย ทำให้สุขภาพดี ผ่อนคลาย ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภท ได้แก่

1. การกด
เป็นการใช้น้ำหนักกดบนเส้นพลังงานบนกล้ามเนื้อโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วโป้งกดนวด เป็นวงกลม , ฝ่ามือกดเป็นวงกลม และกดเส้นพลังงานและ ใช้น้ำหนักตัวกด นิ้วและหัวแม่มือ หัวเข่า ฝ่าเท้า ทำการยืดเส้น ทำให้หลอดเลือดขยาย การไหลเวียนของเลือด ระบบประสาร การทำงานของอวัยวะต่างๆดีขึ้น 

2. การบีบ
เป็นการใช้น้ำหนัก บีบกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือเข้าหากันโดยการออกแรง สามารถ ใช้นิ้วหัวแม่มือช่วยหรือการประสานมือเพือเพ่ิมการออกแรง เป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

3. การทุบ/ตบ/สับ
ใช้มือและกำปั้นทุบกล้ามเนื้อเบาๆเป็นการผ่อนคลายการตึงของกล้ามเนื้อและให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้นและเป็นการช่วยขจัดของเสียออกจาก ร่างกาย

4. การคลึง
เป็นการใช้น้ำหนักกดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อโดยการหมุนแขนให้กล้ามเนื้้อเคลื่่อนหรือคลึงเป็นวงกลม ใช้แรงมากกว่าการใช้ข้อศอก

5. การถู
โดยใช้น้ำหนักนวดถูไปมา หรือวนไปมาเป็นวงกลม บนกล้ามเนื้อเพื่อช่วยผ่อนคลายยอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อต่างๆ
6. การหมุน
โดยการออกแรงหมุนข้อต่อกระดูกวนเป็นวงกลม ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น ผ่อนคลาย 

7. การกลิ้ง
เป็นการใช้ข้อศอกและแขนท่อนล่าง กดแรงๆในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่นต้นขา

8. การสั่น/เขย่า
ใช้มือเขย่าขาหรือแขนของผู้ถูกนวด เพื่อช่วยทำให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปในตัว 

9. การบิด
ลักษณะคล้ายการหมุน แต่เป็นการออกแรงบิดกล้ามเนื้อกับข้อต่อให้ ยืดขยายออกไปในแนวทแยง ทำให้กล้ามเนื้อยืด

10. การลั่นข้อต่อ
เป็นการออกแรงยืดข้อต่อให้เกิดเสียงดังลั่น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น

11. การยืดดัดตัว
โดยใช้ฝ่าเท้า เป็นการออกแรงยืดกล้ามเนื้อข้อต่อให้ยืดขยายออกไปทางยาว ช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยืดคลายตัว

12. การหยุดการไหลเวียนของเลือด
ใช้ฝ่ามือกดที่จุดชีพจรที่โคนขาเพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือดชั่วขณะกดไว้ประมาณครึ่่งถึง1นาทีแล้วค่อยๆปล่อยช้าเพื่อให้เลือด กลับหมุนเวียนดีขื้น


อ้างอิงจาก www.google.com   www.youtube.com   www.th.wikipedia.org

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพร  

 
    


       การ ประคบสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรมาห่อด้วยผ้าเป็นลูก เรียกว่า ลูกประคบ นำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ด ขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการ ปวดเคล็ดขัดยอกได้ สมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อนึ่งร้อนแล้วน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นตัวยาจะออกมากับไอน้ำและความชื้น เมื่อประคบตัวยาเหล่านั้นจะซึมเข้าในผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัดยอก และอาการปวด นอกจากเน้นแล้ว ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น ทั้งกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยยังช่วยให้เกิดความสดชื่นด้วย

 
        อุปกรณ์การทำลูกประคบ
1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาด 35 x ยาว 35 เซนติเมตร 2 ผืน
2. เชือก ด้ายดิบ หรือหนังยาง
3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
4. เตา พร้อมหม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
5. จานหรือชามอลูมิเนียมเจาะรู (เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้) สำหรับรองลูกประค


 
 
      ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ (ลูกประคบ 2 ลูก)
1. เหง้าไพล (500 กรัม) สรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ
2. ผิวมะกรูด ถ้าไม่มีให้ใช้ใบแทนได้ (200 กรัม) สรรพคุณ มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
3. ตะไคร้ (200 กรัม) สรรพคุณ แต่งกลิ่น
4.ใบมะขาม (100 กรัม) สรรพคุณ แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
5. ขมิ้นชัน (100 กรัม) สรรพคุณ ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
6. ใบส้มป่อย (100 กรัม) สรรพคุณ ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต
7. เกลือแกง (60 กรัม) สรรพคุณ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น
8. การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้พุพอง
9. พิมเสน (2 ช้อนโต๊ะ) สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ แก้หวัด


 
 
     วิธีการทำลูกประคบ
1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาตำพอหยาบ ๆ
2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย ผสมกับสมุนไพรข้อ 1 เสร็จแล้วให้ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียว แต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ
3. นำตัวยาที่จัดเตรียมเรียบร้อย แล้วใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ (น้ำหนักประมาณ 400 – 500 กรัม) รัดด้วยเชือกให้แน่น
(ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลงให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม)
4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
5. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่าง ๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ

 
 
     วิธีการประคบ
1. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแคง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร
2. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดลอบความร้อนของลุกประคบคือแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือของผู้ประคบก่อน)
3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรก ๆ ต้องทำด้วยความเร็ว วางแช่นาน ๆ เพื่อป้องกันคนไข้จากการลูกลวกด้วยความร้อน
4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกที่นึ่งได้ที่ (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ทำซ้ำตามข้อ 2 , 3 , 4

 
 
     ประโยชน์ของการประคบ
1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หลัง 24-48 ชั่วโมง
3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก
5. ลดการติดขัดของข้อต่อ
6. ลดอาการปวด
7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

 
       ข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรมีผ้าขนหนูรองก่อนหรือรอจนกว่าลูกประคบจะคลายร้อนลงจากเดิม
2. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวความรู้สึกตอบสนองต่อความร้อนช้า อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ควรจะ “ ใช้ลูกประคบที่อุ่น ๆ ”
3.ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผลการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ในช่วง 24 ชั่วโมง แรกอาจจะทำให้บวมมากขึ้น
4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณหภูมิของร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทำให้เป็นไข้ได้

     วิธีเก็บรักษา
1. ลูกประคบสมุนไพรที่ทำในแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ำได้ 3-5 วัน
2. ควรเก็บลูกประคบไว้ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นานขึ้น ควรตรวจลูกประคบด้วย ถ้ามีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยวไม่ควรเก็บไว้)
3. ถ้าลูกประคบแห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ำหรือเหล้าขาว
4. ถ้าลูกประคบที่ใช้ไม่มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จืดแล้ว (คุณภาพน้อยลง) จะใช้ไม่ได้ผลควรเปลี่ยนลูกประคบใหม่
 
 อ้างอิงจาก www.ittm.dtam.moph.go.th  www.google.com

การฝังเข็ม

เวชศาสตร์แผนจีน (ฝังเข็ม)

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคและหรือบรรเทาอาการด้วย วิธีฝังเข็ม ไว้ดังนี้
1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัด เป็นพิเศษ
         อาการปวด ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจากการเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดศีรษะ มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมีประจำเดือน ปวดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน อาการซึมเศร้า
         โรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นเหียรอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด
2. การรักษาที่ให้ผลดี อาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู สายตาสั้นในเด็ก เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด
3. การรักษาที่ได้ผล ท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ
การฝังเข็ม (Acupuncture) คืออะไร
         การฝังเข็ม เป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรคด้วยการใช้เข็ม ซึ่งมีหลายขนาด แทงลงไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน
การฝังเข็มเจ็บหรือไม่
         ขณะที่เข็มผ่านผิวหนัง จะมีอาการเจ็บอยู่บ้างแต่ไม่มาก และเมื่อเข็มแทงเข้าไปลึกถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อๆ หรือปวดหน่วงๆ และปวดร้าว ไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ
เข็มที่ใช้ฝังเป็นอย่างไร
         เข็มที่ใช้ในการฝังเข็ม มีขนาดเล็กและบางมาก เป็นเข็มตัน ปลายตัด ไม่มีสารหรือยาชนิดใดเคลือบเข็มอยู่ เข็มที่ใช้ในหน่วยเวชศาสตร์แผนจีน ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นเข็มใหม่ จะใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้ใหม่โดยเด็ดขาด
ชนิดการรักษาในหน่วยเวชศาสตร์แผนจีน
         1. การฝังเข็มร่างกาย (Body Acupuncture)
         2. การฝังเข็มที่ศีรษะ (Scalp Acupuncture)
         3. การฝังร่วมกับการกระตุ้นไฟฟ้า (Electro Acupuncture)
         4. การฝังเข็มหรือ Magnetic Ball บนใบหู (Ear Acupuncture)
         5. การเคาะกระตุ้นผิวหนัง (Cutaneous Needle)
         6. การเจาะปล่อยเลือด (Blood Letting)
         7. การครอบแก้ว (Cupping)
         8. การรมยา (Moxibution)
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
         หลังจากที่ฝังเข็มแล้ว ใช้สายไฟเชื่อมต่อกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดพิเศษโดยเฉพาะ เป็นกระแสไฟฟ้าตรงประมาณ 9 โวลท์ จึงไม่สามารถทำให้เกิดไฟดูดได้ แต่จะรู้สึกกระตุ้นที่กล้ามเนื้อเป็นจังหวะ แรงพอทนได้ ทำให้เข็มกระดิก เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้า และไม่ทำให้เจ็บปวดจนทนไม่ได้
การครอบแก้ว (Cupping)
         เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัด ทำให้รักษาอาการปวดได้ หลังจากการทำแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีสีม่วงคล้ำเป็นจ้ำ แต่ไม่มีอันตราย และจะหายได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
         1. สตรีตั้งครรภ์
         2. โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
         3. โรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
         4. โรคที่ต้องการการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
การเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม
         1. รับประทานอาหารก่อนมาฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในช่วงผู้ป่วยหิวหรืออ่อนเพลีย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมง่าย
         2. พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย
         3. ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป ควรสวมกางเกงที่หลวม และสวมเสื้อแขนสั้น
         4. ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง
             ฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้มากมาย ได้แก่
         - กลุ่มอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดไมเกรน ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน
         - อัมพฤกษ์ อัมพาต
         - โรคทางหู เช่น มีเสียงดังผิดปกติในหู หูดับ
         - โรคภูมิแพ้ หวัดเรื้อรัง และหอบหืด
         - โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า
         - โรคทางผิวหนัง เช่น สิว ฝ้า ผมร่วง งูสวัด ผื่นต่างๆ
         - โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
         - โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเดิน ริดสีดวงทวาร สะอึก ปวดท้องเรื้อรัง
         - โรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ
         - โรคเบาหวาน
         - ลดความอ้วน และเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
         - เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด
         - เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
         - โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
ข้อแนะนำในการฝังเข็ม
         1. ขณะฝังเข็ม ควรอยู่ในท่านั่งหรือนอน ไม่เครียดจนเกินไป หรือตามคำแนะนำของแพทย์
         2. ขณะรับอาการฝังเข็ม อาจมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น หน้ามืดเป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที
         3. หลังจากที่ฝังเข็มและคาเข็มไว้แล้ว ควรนั่งพักหรืออยู่ในท่านั้นๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที ไม่ควรขยับเขยื้อนแขนขา หรือบริเวณที่เข็มคาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เข็มบิดงอ จะทำให้ปวดได้
ต้องมารับการรักษาฝังเข็มนานเท่าไร
          จะต้องมาฝังเข็มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และต้องมาฝังเข็มอย่างน้อย 10 ครั้ง หรือแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์


อ้างอิงจาก www.tm.mahidol.ac.th  www.google.com  www.youtube.com

ยาลดความอ้วน

ยาลดความอ้วน (ตามคลินิคหมอ) อันตราย
 

 ยาชุดที่ใช้ตามคลินิกทั่วไปมีดังนี้ค่ะ
1 Phentermine HCL เป็นยาหลักที่ใช้กดสมองส่วนกลางไม่ให้เกิดความอยากอาหาร ยาชนิดนี้ เป็นยาที่ดัดแปลงมาจากยาแอมเฟตามีน (Amphetamine) ที่ อย. อนุญาตให้ขายในเมืองไทยมีขนาด 15 และ 30 mg ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ กระวนกระวาย ปวดศีรษะ เหงื่อออก ปากแห้ง คลื่นไส้ ท้องอืด ส่วนใหญ่จะเกิด yoyo effect หลังหยุดยา ไม่ควรใช้เกิน 30 mg /วัน เพราะฉนั้นถามผู้ที่จ่ายยาคุณก่อนรับทุกครั้งนะคะ ลักษณะเม็ดยา มักจะเป็น capsule สี เขียวเข้ม-ขาว,แดง-ขาว,และเป็น capsule ที่เป็นเม็ดเล็กๆข้างใน

2 Thyroid hormone อันตรายมาก มีสีต่างๆกัน ในคนปกติ ถ้ากินจะมีอาการเหมือนคนที่เป็นคอพอกเป็นพิษ ใจสั่น วูบวาบ คนจ่ายยามักใช้เพื่อเร่งการเผาผลาญ (metabolism)

3 ยาขับปัสสาวะ มัก เป็น lasix หรือ HCTZ เม็ดอาจเป็นสี ขาว ส้ม ฟ้า แล้วแต่ แต่ไม่รู้ให้มาทำไมฉี่บ่อย กินไปก้อออกแต่น้ำอันตรายหนักเข้าไปอีกบ้าจริงๆ เนื่องจากหมอจะใช้เป็นยาลดความดันค่ะ ลองนึกดูว่าถ้าคนความดันปกติไปกินล่ะก้อ ความดันตกฮวบแน่ๆ

4 ยาระบาย อันนี้พอไหวเนื่องจาก phentermine ทำให้ท้องผูก

5 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าไม่ให้ในขนาดที่สูงเกินไปก้อพอทนรับได้ แต่ถ้าเราไม่ได้กินอาหารเลยล่ะก้อ เสร็จแน่ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดถ้าต่ำกว่า 70 mg/dl ละก้อ จะอ่อนเพลีย แต่ถ้าต่ำกว่า 50 ละก้อ ช้ากแหง่กๆๆๆๆ สถานเดียว

6 Fluoxetin ยาชนิดนี้ เป็นยาลดอาการซึมเศร้า แต่มีผลต่อการลดน้ำหนักด้วย ขนาดปกติที่ใช้คือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอน โดยเชื่อว่ายาจะทำให้ความอยากอาหารลดลง เพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาชนิดนี้คือ อ่อนเพลีย ท้องเดิน เหงื่อออก นอนไม่หลับ กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน

7 ยาหลอก มักเป็นพวกแป้ง หรือวิตามิน ใส่เข้าไปในชุดให้มันดูเยอะๆไปยังงั้นแหละ จะได้คิดราคาแพงๆได้
****** ถ้าได้ยาเป็น capsule สีเทาแดง ละก้อ นั่นแหละ ยาทำปลอมหรือไม่ก้อเป็นยาที่ถูก อย. เพิกถอนไปแล้วเนื่องจากทำให้ !!!! ตายได้ !!!!

### ยาลดน้ำหนักออกใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า

1 Sibutramine (Reductil@ ) มีเพียงยี่ห้อเดียวเท่านั้น เป็น capsule สี น้ำเงินเหลือง (10mg)' และ น้ำเงินขาว (15mg)
ถ้า เป็นสีอื่น ยี่ห้ออื่น ของปลอมชัวร์ ออกฤทธิ์ด้วยการช่วยให้ความอยากอาหารน้อยลง เร่งการเผาผลาญนิดหน่อย ไม่ค่อยเกิด yoyo แต่ราคาแพง 10mg =100bath/capsule, 15 mg= 150 bath/ capsule กินได้วันละไม่เกิน 15 mg และห้ามใช้ร่วมกับ phentermine

2 Xenical อันนี้ดี ช่วยดักจับไขมันที่กินเข้าไปทำให้อึ๊ ออกมาเป็นมันแผล็บ แต่ข้อเสียคือ ก้นมันมาก บางครั้งมีไขมันแพลมออกมาก๊ะตด ด้วย อึ๋ย อึ่ย อึ๋ย อ้วก ลักษณะเป็น capsule สีฟ้า ราคาประมาณ 50 bath/ capsule อาจกินเฉพาะวันที่เรากินอาหารมันมาก ไม่จำเป็นต้องกินทุกวัน

      เห็นแล้วรึยังว่าอันตรายของยาลดความอ้วนมีมากแค่ไหน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรจะหันมาออกกำลังกายกันจะดีกว่า ด้วยความหวังดีนะคะ^^
 อ้างอิงจาก www.shopbegin.com   www.google.com

มวยไทเก็ก

 ประโยชน์ของมวยไทเก็ก

      ชาวจีนเชื่อว่าหากฝึกมวยไทเก็ก อย่างถูกต้องเป็นประจำวันละ 2 รอบ เป็นเวลานาน ๆร่างกายจะอ่อนไหวอย่างเด็ก สุขภาพจะแข็งแรงอย่างคนตัดไม้และจิตสงบอย่างนักปราชญ์ความเชื่อนี้ไม่เกิน ความจริงเพราะคนที่ฝึกต่างได้รับผลอย่างนั้นหรือ…ยิ่งกว่านั้น

ประโยชน์ด้านร่างกาย

- กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และกระดุก ทุกส่วนของร่างกายมีโอกาสได้เคลื่อนไหว รักษารูปร่างให้พอดี ไม่ผอม ไม่อ้วน

- เพิ่มประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนแกสที่ปอด ป้องกันวัณโรค ช่วยให้หายใจได้ลึก

- ทำให้หัวใจเต้นแรง แต่รักษาจังหวะช้า ๆ และสม่ำเสมอ

-รักษา และป้องกันอาการคั่งเลือดของร่างกาย การตีบตันและแข็งตัวของหลอดเลือดจึงเป็นการป้องกันเส้นดลหิตในสมองแตก (apolexcy) ช่วยการหมุนเวียนโลหิตจึงเป็นการป้องกันดรคอัมพาต (paralysis) และตะคริว (cramp) เป็นต้น

- ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ และการขับถ่ายของเสีย

- ระบบประสาท และสมองได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเอง รวมทั้งระบบอื่น ๆ ด้วย

- ทำให้ร่างกายอบอุ่นในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูร้อนหลังจากมีเหงื่อออก

- บริหารไตให้แข็งแรง ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายส่วนอื่นให้ดีขึ้น และช่วยสะเทิน (neutralization) อาหารที่เป็นพิษ

- ป้องกันการก่อตัวหรือตกตะกอนของหินปูน (lime) ในกระดูกของผู้สูงอายุ อันจะนำไปสู่โรค paraplegia

- ฝึกร่างกายให้อดทน ทำงานหนักได้ ไม่เหนื่อยง่าย (indefatigable) ไม่เป็นโรคอ่อนเพลีย (nurathenia)

- ช่วยให้ผิวหนังแข็งแรง ป้องกันผิวหนังร้อน (boil) โรค Psoriasis และสิวต่าง ๆ เป็นต้น

-สภาพร่าง กายที่ได้จากการฝึกฝน มวยไทเก็ก เป็นเวลายาวนาน :-แก้มจะมีสีแดงแสดงถึงความมีสุขภาพดี ขมับจะเต็มอิ่มขึ้นมา หูจะมีสีแดงเข้มการได้ยินจะว่องวัย ลูกตาจะมีประกายชีวิตชีวา เสียงจะดังและกังวาลไกลการหายใจจะเป็นปกติ ไม่หอบเหนื่อยหรือเร่งร้อน ฟัน เหงือกและขากรรไกรจะแข็งแรง ไหล่และอกจะแข็งแรงและเรียบ (sturdy and sluk)ท้องจะแข็งแต่หยุ่นได้ (solid and elastic) คล้ายหนังกลองเมื่อยืนเท้าทั้งสองจะรู้สึกว่าติดแน่นกับพื้น และสามารถเปลี่ยนจาก “มี”เป็น “ไม่มี” หรือกลับกันได้ การก้าวเท้าจะเบากล้ามเนื้อจะอ่อนนุ่มดุจปุยฝ้าย ขณะที่ “พลังแท้จริง (จิ้ง)” ยังไม่ถูกใช้(inactive) แต่กล้มเนื้อจะเหนียวแน่น (stiff) ขึ้นเมื่อพลังงานแท้จริงถูกใช้ (active)นอกจากนี้ผิวหนังจะเรียบและผ่องใสออกสีชมพู (irosy)และว่องไวต่อการสัมผัสฟัง (sensitively auditive)

ประโยชน์ด้านจิตใจ

- ฝึกนิสัยให้เป้นคนหนักแน่น อดทน เยือกเย็น และมีขันติ

- ฝึกประสาทให้แหลมคม

- ฝึกสมาธิให้แน่วแน่ในการทำงาน

- ยกระดับจิตใจให้มีความเมตตา กรุณา เข้มใจเพื่อนมนุษย์และเข้าใจตนเอง

ประโยชน์ด้านการรักษาโรค และอาการผิดปกติของร่างกายและจิตใจ

- โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย และท้องผุก

- โรคประสาท ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ

- โรคโลหิตจาง (anemia) ความดันสูง-ต่ำ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจอ่อน และช้ำในจากการถูกกระแทก

-โรคทางกระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ เช่น รุมาติสม์ กล้ามลีบ เหน็บชาอัมพาตกล้ามเนื้อ และรำ มวยไทเก็ก หลังจากต่อกระดูกที่หักแล้ว

- ยกระดับภูมิต้านทานโรคโดยส่วนรวม

  
อ้างอิงจาก www.google.com  www.doothaithai.com                             

กล้วยน้ำว้า

สุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยกล้วยน้ำว้าสาระพัดประโยชน์



       แปลกใจบ้างไหมว่า ทำไมผู้ใหญ่ถึงชอบให้เด็ก ทานกล้วยน้ำว้าบด ก็เพราะว่าใน กล้วยน้ำว้า มี โปรตีน และมี กรดอะมิโน อาร์จินิน และ ฮีสติดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก แถมยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย นั้นเป็นคุณค่าทางโภชนาการ คราวนี้เรามาดูกันว่า สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้า มีอะไรกันบ้าง
  1. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้ง ทานวันละ 5-6 ผล จะช่วยให้อาการระคายเคืองลดน้อยลงได้
  2. ช่วยเรื่องกลิ่นปาก ทำให้ลดกลิ่นปากได้ดี วิธีรับประทานคือทานกล้วยน้ำว้าหลังตื่นนอนทันที แล้วค่อยแปรงฟัน จะช่วยลดกลิ่นปากได้
  3. ช่วยเป็นยาระบายแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติ วิธีรับประทานคือ ทานกล้วยน้ำว้าสุก 1-2 ผล ก่อนนอน และดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยให้ถ่ายท้องได้ดีในวันรุ่งขึ้น
  4. ช่วยแก้ท้องเดิน หรือ ท้องเสียได้ ในกล้วยน้ำว้าจะมีสารเทนนิน ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้ โดยการน้ำ กล้วยน้ำว้าดิบ หรือ กล้วยน้ำว้าห่าม มาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2- 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชม. ใน 4-5 ชม.แรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชม. หรือ วันละ 3-4 ครั้ง (ถ้ายุ่งยาก ก็หายามาทานก็ได้ค่ะ)
  5. ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ นำกล้วยน้ำว้าดิบมา ปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แตกแดด 2 วัน ให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว หรือน้ำผึ้ง ทานก่อนอาหาร ครึ่งชม. หรือก่อนนอนทุกวัน
  6. เปลือกกล้วยน้ำว้า ช่วยบรรเทาอาการคันอันเนื่องมาจากแมลงกัดต่อย และผื่นแดงจากอาการคันได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการ ต้านเชื้อรา และ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง
      รู้สรรพคุณของกล้วยน้ำว้าอย่างนี้แล้ว รีบไปซื้อติดบ้าน ไว้รับประทานบ้าง ก็คงจะดีไม่น้อย
อ้างอิงจาก www.google.com  www.ohomylife.com

แอโรบิค แดนซ์

 แอโรบิค แดนซ์


 แอโรบิค แดนซ์(Aerobic Dance) หรือ แอโรบิคส์(Aerobics) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกายยืดเหยียดประกอบจังหวะเพลงโดยมีจุด ประสงค์เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปกติจะเล่นกันเป็นกลุ่มโดยมีผู้นำและสามารถเล่นเป็นคนเดี่ยวโดยไม่มีเพลง ประกอบได้
ได้มีการนำการออกกำลังกายหลากหลายท่าทางเข้ามาประยุกต์ประกอบจังหวะ เพลงอย่างเป็นชุดของท่าทางต่างๆทำให้เกิดความสนุกสนานและเป็นการได้เหงื่อไป ในตัว อาจมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
ได้จำแนกท่าทางจากเกณฑ์ความยากง่ายโดยผู้ให้คำปรึกษา เป็นระดับเบื้องต้น กลาง และระดับชำนาญแล้ว และเหตุด้วยที่แต่ละระดับมีความยากง่ายแตกต่างกัน การแบ่งเป็นออกระดับย่อยนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลในแต่ละระดับ สามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปรับปรุงท่าทางได้
แอโรบิคส์จัดให้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังการเพื่อการลดน้ำหนัก ปกติได้นำมาเล่นเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในการ ฝึกฝนเหมือนในระดับยิม โดยปกติแล้วผู้หญิงเล่นบ่อยกว่าผู้ชาย แม้ว่าจะเป็นการเล่นประกอบเพลง แต่ก็มีความแตกต่างที่ไม่เหมือนการเต้มประกอบเพลงทั่วไป
ประโยชน์ของการเต้นแอโรบิค
การเต้นแอโรบิคอย่างเพียงพอและฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอจะมีผลดีต่อร่างกายดังนี้
1.ระบบกล้ามเนื้อ
ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเกร็งและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่สมดุลกัน และทำให้รูปร่างสวยงามสมส่วนขึ้น เพราะว่าไขมันที่มาห่อหุ้มร่างกายอยู่ได้ถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน นอกจากนั้นยังจะช่วยทำให้มีการสะสมสารต้นกำเนิดพลังงานและสารที่เกี่ยวข้อง คือไกลโคลเจน เกลือแร่ ฯลฯ อีกด้วย

2.ระบบกระดูก
ทำให้ข้อต่อและระบบประสาทสั่งงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ระบบการไหลเวียนของโลหิต
ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น หลอดเลือดต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถช่วยเพิ่มประมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาพปกติได้อีกด้วย

4.ระบบการหายใจ
ช่วยให้ทางเดินหายใจ ปอด และ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น

5.ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย
ช่วยเพิ่มอัตราความเร็วของขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานของร่างกาย ช่วยทำลายเซลเสื่อมสภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างเซลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ นอกจากนี้ ยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น นอนหลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง

6.ระบบควบคุม
ช่วยทำให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบประสาทอัติโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาอย่างเป็นปกติ

7.การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาท
ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทสำหรับผู้ที่เคร่งเครียดกับการทำงานหนัก

8.บุคลิค การเคลื่อนไหว และการจัดระเบียบร่างกาย
ทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น ร่างกายโดยรวมมีความอ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น ทำให้อารมณ์เบิกบานและจิตใจแจ่มใส มีสง่าราศี

9.ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟีน
ซึ่งก่อให้เกิดความสุข เพราะว่าขณะออกกำลังกาย อย่างมีความสุข ไร้การแข่งขัน จึงไม่มีความเครียด ซึ่งต่างกับการออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน การออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน ร่างกายจะหลั่งสารคนละตัว มีชื่อว่า อดีนาลีน ซึ่งตัวนี้ จะก่อให้เกิดความเครียด ผลของการออกกำลังกายจะต่างกัน รูปร่างหน้าตาจะสดใสต่างกัน
อ้างอิงจาก www.pirun.ku.ac.th  www.th.wikipedia.org  www.youtube.com